ที่มารูปภาพ: https://pixabay.com/photos/woman-pregnant-belly-baby-outdoors-358779/
ผู้หญิงยุคใหม่มีความคล่องตัวสูง ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
จึงทำให้คุณแม่มือใหม่ที่เป็นผู้หญิงทำงานในยุคปัจจุบันยังคงความแข็งแกร่งทั้งในด้านความคิด
การตัดสินใจและไม่ยอมหยุดพักการทำงานหรือการเดินทางไกล ๆ ด้วยเครื่องบินโดยสาร
แม้ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์
เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ การเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะฉะนั้นเราจึงมีวิธีการเตรียมตัว คำแนะนำ พร้อมวิธีปฏิบัติตนในการเดินทางด้วยเครื่องบินมาฝากกันค่ะ
1. สำรวจระยะเวลาในการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าขณะนี้ตนเองตั้งครรภ์อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่เท่าไร
เช่น ท้องอ่อน อายุครรภ์ประมาณ 1-12 สัปดาห์ หรือช่วงท้องแก่ อายุครรภ์ประมาณ
28-40 สัปดาห์ ซึ่งหากเป็นไปได้แนะนำว่าไม่ควรเดินทางไกลหรือโดยสารเครื่องบินเป็นระยะเวลานาน
ทั้งนี้เนื่องจากในระยะตั้งครรภ์อ่อน ๆ ร่างกายของคุณแม่มีการปรับตัวของฮอร์โมนต่าง
ๆ เป็นภาวะเปราะบาง ที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ส่วนในระยะครรภ์แก่นั้น
อาจเกิดแรงกดดันในการเดินทาง ความตึงเครียดที่ส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ และมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
ซึ่งหากเกิดสภาวะการณ์เช่นนั้น ย่อมก่อให้เกิดอันตรายหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่หรือคุณลูกได้
แม้ว่าบางสายการบินอาจมีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม
2. คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ไว้ พร้อมทั้งเข้ารับการตรวจเพื่อขอรับใบรับรองแพทย์
(Fit To Flight) เพื่อใช้ประกอบการเดินทาง
3. เตรียมยาและของใช้ส่วนตัวให้ครบถ้วนและเพียงพอต่อระยะเวลาในการเดินทางไปกลับ
4. ติดต่อสายการบินเและเตรียมพร้อมเอกสารสำคัญ ได้แก่ ใบฝากครรภ์ตัวจริงหรือสำเนา
ซึ่งจะมีรายละเอียดของการฝากครรภ์ทั้งหมด ใบ Fit to Flight ใบรับรองจากแพทย์ที่รับฝากครรภ์ซึ่งพิจารณาให้เดินทางได้
และใบ Emergency Contact ซึ่งรวบรวมข้อมูลติดต่อฉุกเฉินของคุณแม่ เช่น ชื่อ
เบอร์โทรติดต่อทางบ้าน และข้อมูลติดต่อแพทย์และโรงพยาบาลที่รับฝากครรภ์ และข้อมูลติดต่อของแพทย์ในประเทศปลายทาง
(กรณีเดินทางไปต่างประเทศ)
เมื่อถึงเวลาขึ้นเครื่องบินโดยสาร ข้อควรปฏิบัติสำหรับคุณแม่มีดังนี้
1) การเลือกที่นั่งเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกจองที่นั่งบริเวณริมทางเดิน
หรือบริเวณแถวหน้าสุด เพื่อความสะดวกในการยืดเท้า ผ่อนคลายอิริยาบถและเข้าห้องน้ำได้สะดวก
ที่สำคัญในการคาดเข็มนิรภัยคุณแม่ต้องคาดเข็มขัดให้อยู่บริเวณข้อสะโพก
2) เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่มสบายตัว ไม่ระคายผิวและก่อให้เกิดอาการผื่นแพ้
ที่สำคัญควรใส่ถุงเท้านุ่ม ๆ และรองเท้าพื้นธรรมดาไม่ใช่ส้นสูง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่เท้าและการเดินทางที่สะดวกราบรื่น
และก้าวเดินอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการหกล้ม
3) เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย แต่ไม่กระตุ้นระบบขับถ่ายและการทำงานของลำไส้
และดื่มน้ำเปล่าทีละน้อยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้นและอบอุ่น ข้อสำคัญควรงดดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนโดยเด็ดขาด
เพราะอาจทำให้ท้องอืดและเป็นการกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตมากเกินไป แนะนำให้รับประทานพวกของว่างเพื่อสุขภาพ
จำพวกธัญพืชอัดแท่งเป็นต้น
4) บริหารร่างกายทุก ๆ ชั่วโมง ในระหว่างนั่งโดยสารอยู่บนเครื่องบินนานกว่า
3 ชั่วโมง ด้วยท่าบริหารคอ แขน ขา ข้อเท้าและนิ้วเท้า โดยควรฝึกท่าบริหารเตรียมไว้ก่อนเดินทาง
เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกติ
โดยปกติแล้วกฏระเบียบของสายการบินส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้คุณแม่ที่อายุครรภ์เกิน
36 สัปดาห์โดยสารเป็นระยะทางไกล เพราะมีความเสี่ยงสูงต่อการคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น
ๆ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศในระหว่างการเดินทาง ดังนั้นหากคุณแม่จำเป็นต้องเดินทางจริง
ๆ ควรมีเพื่อนเดินทางไปด้วย และควรตรวจสอบเพิ่มเติมกับสายการบินให้มั่นใจในทุก
ๆ เรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประกันภัยการเดินทาง ทางที่ดีที่สุดซึ่งแพทย์แนะนำคือการหลีกเลี่ยงเดินทางไกลในขณะตั้งครรภ์
แต่หากมีความจำเป็นจริง ๆ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสอบถามข้อมูลและปรึกษาเรื่องต่าง
ๆ ได้ที่ SaveFlights.com บริการรับจองตั๋วเครื่องบินทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
ประสบการณ์กว่า 15 ปี
ที่มาข้อมูล
https://rb.gy/db0snf
https://rb.gy/fokqw3
|